Translate

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปาราชิกกัณฑ์ เล่มที่ ๑ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปาราชิกกัณฑ์ เล่มที่ ๑ แสดงบทความทั้งหมด

23 สิงหาคม 2567

หัวข้อประจำเรื่อง ปาราชิก ๔ สิกขาบท จตุตถปาราชิกสิกขาบท [ว่าด้วย อุตตริมนุสสธรรม] ปาราชิกกัณฑ์ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์

  
   [๓๐๐] ท่านทั้งหลาย
 ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท 
             ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ภิกษุ ต้องอาบัติปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ได้สังวาสกับภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นปาราชิก ย่อมเป็นผู้หาสังวาสมิได้ในภายหลังเหมือนในกาลก่อน
             ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้แล้วหรือ
             ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์
ในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้แล้วหรือ
             ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ในธรรม คือ
             ปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้แล้วเพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้นิ่ง   
             ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้แล. 
ปาราชิกกัณฑ์ จบ 
             หัวข้อประจำเรื่อง ปาราชิก ๔ สิกขาบท คือ:- 
             เมถุนธรรม ๑ อทินนาทาน ๑ มนุสสวิคคหะ ๑ อุตตริมนุสสธรรม ๑ เป็นวัตถุแห่ง มูลเฉท หาความสงสัยมิได้ ดั่งนี้แล.
             อรรถกถา ปาราชิกกัณฑ์ บทสรุปปาราชิก ๔ สิกขาบท
               [บทสรุปปาราชิก]
             คำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก ๔ ข้าพเจ้ายกขึ้นสวดแล้วแล นี้เป็นคำแสดงถึงปาราชิกที่ยกขึ้นแสดงในปาราชิกกุทเทสนี้นั่นแล.
             แต่ประมวลกันเข้าแล้ว พึงทราบปาราชิกทั้งหมดทีเดียวว่ามี ๒๔ อย่าง. ๒๔ อย่างคืออะไรบ้าง? คือที่มาในพระบาลี ๘ อย่างก่อน คือ ของพวกภิกษุ ๔ เฉพาะของพวกนางภิกษุณี ๔. อภัพบุคคล ๑๑ จำพวก.
             บรรดาอภัพบุคคล ๑๑ จำพวกเหล่านั้น
             บัณเฑาะก์ สัตว์ดิรัจฉานและอุภโตพยัญชนก ๓ จำพวก เป็นพวก อเหตุกปฏิสนธิ จัดเป็นพวกวัตถุวิบัติ. พวกวัตถุวิบัติเหล่านั้น ไม่ถูกห้ามสวรรค์ แต่ถูกห้ามมรรค.
             จริงอยู่ บัณเฑาะก์เป็นต้นเหล่านั้นจัดเป็น อภัพบุคคลสำหรับการได้มรรค เพราะเป็นพวกวัตถุวิบัติ. ถึงการบรรพชา
สำหรับพวกเขา ก็ทรงห้ามไว้. เพราะฉะนั้น บัณเฑาะก์เป็นต้นแม้เหล่านั้นจึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ (เป็นปาราชิก).
             บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ คือคนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ สามเณรผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี คนทำโลหิตุปบาท ภิกษุผู้ทำสังฆเภท ชื่อว่าถึงฐานะเป็นอภัพบุคคล เพราะเป็นผู้วิบัติด้วยการกระทำของตน เพราะฉะนั้นจึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ด้วย.
             บรรดาบุคคล ๘ จำพวกนั้น สำหรับบุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ คือ คนลักเพศ ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์ สามเณรผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี ไม่ถูกห้ามสวรรค์ แต่ถูกห้ามมรรคแท้. อีก ๕ จำพวกถูกห้ามแม้ทั้ง ๒ อย่าง. เพราะว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นจำพวกสัตว์ที่จะต้องเกิดในนรก ไม่มีระหว่าง.
             อภัพบุคคล ๑๑ จำพวกเหล่านี้และบุคคลผู้เป็นปาราชิก ๘ ข้างต้นจึงรวมเป็น ๑๙ ด้วยประการฉะนี้.
             แม้บุคคลเหล่านั้นรวมกับนางภิกษุณีผู้ยังความพอใจให้เกิดในเพศคฤหัสถ์     แล้วนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์จึงรวมเป็น ๒๐.
             จริงอยู่ นางภิกษุณีนั้นถึงจะไม่ได้กระทำการล่วงละเมิดด้วยอัชฌาจาร ก็จัดว่า ไม่เป็นสมณีได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้; เพราะเหตุนั้น ปาราชิกเหล่านี้ จึงมี ๒๐ ก่อน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อนุโลมปาราชิก แม้อย่างอื่นยังมีอีก ๔ด้วยอำนาจภิกษุ ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ ภิกษุมีองค์กำเนิดยาว (ปรารถนาจะเสพเมถุนธรรม จึงสอดองค์กำเนิดเข้าไปทางวัจจมรรคของตน) ๑ ภิกษุมีหลังอ่อน (ปรารถนาจะเสพเมถุนธรรม ก้มลงอมองค์กำเนิดของตน) ๑ ภิกษุเอาปากอมองค์กำเนิดของผู้อื่น ๑ ภิกษุนั่งสวมองค์กำหนดของผู้อื่น ๑.
              ก็เพราะเหตุที่ธรรมของคน ๒ คน ผู้เข้าถึงความเป็นเช่นเดียวกันด้วยอำนาจราคะตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม; ฉะนั้น ปาราชิก ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ย่อมอนุโลมแก่เมถุนธรรมปาราชิก โดยปริยายนี้ เพราะภิกษุ ๔ จำพวกนั้น ถึงจะไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ก็พึงต้องอาบัติได้ ด้วยอำนาจการยังมรรคให้เข้าไปทางมรรคอย่างเดียว; เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า อนุโลมปาราชิก ฉะนี้แล.
               พึงประมวลอนุโลมปาราชิก ๔ เหล่านี้และปาราชิก ๒๐ ประการข้างต้นเข้าด้วยกันแล้ว ทราบปาราชิกทั้งหมดทีเดียวว่ามี ๒๔ อย่าง  ด้วยประการฉะนี้.
               ข้อว่า น ลภติ ภิกฺขูหิ สทฺธึ สํวาสํ มีความว่า ย่อมไม่ได้สังวาสต่างโดยประเภท มีอุโบสถ ปวารณา ปาฏิโมกขุทเทสและสังฆกรรมกับด้วยภิกษุทั้งหลาย.
               ข้อว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา มีความว่า ในกาลก่อน คือในเวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาที่ยังมิได้อุปสมบท(ย่อมเป็นผู้ไม่มีสังวาส)ฉันใด,ภายหลังแม้ต้องปาราชิกแล้วก็เป็นผู้ไม่มีสังวาสฉันนั้นเหมือนกัน. สังวาสต่างโดยประเภทมีอุโบสถ ปวารณาปาฏิโมกขุทเทสและสังฆกรรมกับด้วยภิกษุทั้งหลายของภิกษุนั้น ไม่มี; เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมไม่ได้สังวาสกับด้วยภิกษุทั้งหลาย.
               ข้อว่า ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ มีความว่า ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในปาราชิก ๔ เหล่านั้นว่า ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ?
               บทว่า กจฺจิตฺถ ตัดบทว่า กจฺจิ เอตฺถ มีความว่า ในปาราชิก ๔ เหล่านี้ 
              ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ?
               อีกประการหนึ่ง สองบทว่า กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา 
              มีความว่า ท่านทั้งหลายย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์แลหรือ?
               บทที่เหลือทุกๆ แห่งมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
               จตุตถปาราชิกวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
               ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ.
               [อธิษฐานคาถาของท่านผู้รจนา]
      ขอพระสัทธรรม จงดำรงอยู่สิ้นกาลนาน
      ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล ยังหมู่สัตว์
        ให้เอิบอิ่ม สิ้นกาลนาน ขอพระราชาจง
               ปกครองแผ่นดิน โดยธรรมเทอญ.

อรรถกถา อนาปัตติวาร วินีตวัตถุ จตุตถปาราชิกสิกขาบท [ว่าด้วย อุตตริมนุสสธรรม] ปาราชิกกัณฑ์ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์

   
   พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงประเภทแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจความพิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงอนาบัติ จึงตรัสคำว่า อนาปตฺติ อธิมาเนน เป็นอาทิ.
               บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า อธิมาเนน  มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้อวด ด้วยสำคัญว่าตนได้บรรลุ.
               บทว่า อนุลฺลปนาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มิได้ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร ด้วยความเป็นผู้หลอกลวง ไม่ประสงค์จะอวด พยากรณ์พระอรหัตผลในสำนักของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย.  ภิกษุบ้าเป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั้นนั่นแล. 
               อนึ่ง พวกภิกษุผู้จำพรรษาใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ผู้เป็นต้น บัญญัติในสิกขาบทนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอเหล่านั้น ฉะนี้แล. บทภาชนียวรรณนา จบ.        
               (จตุตถปาราชิกสิกขาบทมีสมุฏฐาน ๓) 
            ในสมุฏฐานเป็นต้นมีวินิจฉัยดังนี้ :-
            สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือเกิดแต่กายกับจิตของภิกษุผู้อวดอยู่ ด้วยหัวแม่มือ ๑ เกิดแต่วาจากับจิตของภิกษุผู้อวดด้วยการเปล่งวาจา ๑ เกิดแต่กายวาจากับจิตของภิกษุผู้ทำอยู่ทั้ง ๒ อย่าง ๑ เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม เป็นอกุศลจิต มีเวทนา ๓.
             จริงอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวอวดทั้งที่มีโสมนัสรื่นเริงใจก็มี กลัวอวดก็มี มีตนเป็นกลางอวดก็มี.
              [เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ] เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ ในวินีตวัตถุทั้งหลายมีนัยดังกล่าวแล้วในอนุบัญญัตินั่นแล.
              ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               บทว่า ปณิธาย ได้แก่ ทำความปรารถนาไว้.
               ข้อว่า เอวํ มํ ชโน สมฺภาเวสฺสติ มีความว่า (ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอยู่ในป่าด้วยตั้งใจว่า) ชนจักยกย่องเราผู้อยู่ในป่าในความเป็นพระอรหันต์หรือในภูมิแห่งพระเสขะ ด้วยวิธีอย่างนี้, แต่กาลนั้นไป เราจักเป็นผู้อันชาวโลกสักการะ เคารพนับถือ บูชา.
               สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อเธอเดินไปด้วยตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจักอยู่ในป่า เป็นทุกกฏทุกๆ ย่างเท้า. ในกิจทั้งปวงมีการสร้างกุฎี เดินจงกรม นั่งและนุ่งห่มเป็นต้นในป่า เป็นทุกกฏทุกๆ ประโยคเหมือนอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควรอยู่ในป่า 
               ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น.
               จริงอยู่ เมื่ออยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น จะได้รับความยกย่องหรือไม่ก็ตาม ย่อมต้องทุกกฏ. ส่วนภิกษุใดสมาทานธุดงค์แล้ว คิดว่า เราจักรักษาธุดงค์ หรือว่า เมื่อเราพักอยู่ในแดนบ้าน จิตย่อมฟุ้งซ่าน, ป่าเป็นที่สบาย ดังนี้จึงเป็นผู้มีความประสงค์จะอยู่ป่าอันหาโทษมิได้ด้วยทำความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบรรลุบรรดาวิเวกทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งในป่าแน่แท้ ดังนี้ก็ดี ว่า เราเข้าไปสู่ป่ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว จักไม่ออกมา ดังนี้ก็ดี ว่า ชื่อว่าการอยู่ป่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญและเมื่อเราพักอยู่ในป่า    เพื่อนพรหมจารีมากหลายจักละทิ้งแดนบ้านแล้วอยู่ป่าเป็นวัตร ดังนี้ก็ดี ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่า.
               ในเรื่องที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
                เป็นทุกกฏทุกๆ ประโยค ตั้งต้นแต่กิจคือการนุ่งห่ม ด้วยตั้งใจว่า เราจักวางอิริยาบถมีการก้าวไปเป็นต้น เที่ยวบิณฑบาต จนกระทั่งถึงการขบฉันเป็นที่สุด, เธอจะได้รับความยกย่องหรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฏทั้งนั้น แต่ภิกษุผู้เข้าไปบิณฑบาต ด้วยอิริยาบถที่น่าเลื่อมใส มีการก้าวไปและถอยกลับเป็นต้นเพื่อบำเพ็ญขันธกวัตรและเสขิยวัตรให้บริบูรณ์ หรือเพื่อถึงความเป็นทิฏฐานุคติ แก่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายไม่พึงติเตียนแล.
               ในเรื่องที่ ๔ และที่ ๕ เพราะภิกษุมิได้กล่าวว่าเรา โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในคำนี้ว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน จึงไม่เป็นปาราชิก. 
                จริงอยู่ เมื่อภิกษุอวดอุตริมนุสธรรมเป็นที่น้อมเข้ามาในตนเท่านั้น ท่านจึงปรับเป็นปาราชิก. คำเป็นต้นว่า (ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง) เดินจงกรมด้วยตั้งใจว่า ... ดังนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.
                ในเรื่องละสังโยชน์ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
                เมื่อภิกษุกล่าวว่า สังโยชน์ทั้งหลาย เราละได้แล้วก็ดี ว่า สังโยชน์ทั้ง ๑๐ เราละได้แล้วก็ดี ว่า สังโยชน์ข้อหนึ่ง เราละได้แล้วก็ดี การละกิเลสนั่นแหละเป็นอันเธอบอกแล้ว; เพราะเหตุนั้น จึงเป็นปาราชิก.
                ในเรื่องธรรมในที่ลับ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
                 ข้อว่า รโห อุลฺลปติ๑-  ความว่า       ภิกษุอยู่ในที่ลับ พูดว่า เราเป็นพระอรหันต์ ดังนี้,  แต่ไม่ได้ทำ การคิดด้วยใจเลย; เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏ เรื่องวิหารและเรื่องบำรุง มีนัยดังกล่าวแล้ว     นั้นแล. ๑- บาลี. มหา. วิ. ๑/หน้า ๒๐๔ เป็น รโหคโต ... อุลฺลปติ.
                ในเรื่องทำได้ไม่ยาก มีวินิจฉัยดังนี้ :-
                ลัทธิของภิกษุนั้นมีดังนี้ว่า พระอริยบุคคลทั้งหลายแลผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า (พึงพูดอย่างนั้น). เพราะเหตุนั้นเธอจึงกล่าวว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น พึงพูดอย่างนั้น.
                 ก็แลความประสงค์ของเธอ มีดังนี้ว่า การที่ภิกษุผู้มีศีล เจริญวิปัสสนาพยากรณ์พระอรหัตผลทำให้ไม่ยากเลย, เธอสามารถบรรลุพระอรหัตได้, เพราะเหตุนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด.
                 ในเรื่องความเพียร มีวินิจฉัยดังนี้ :-
                  บทว่า อาราธนีโย   ความว่า สามารถเพื่อยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ คือยังตนให้บรรลุได้. ความว่า เพื่อให้เกิดได้.             คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ
                  ในเรื่องความตาย มีวินิจฉัยดังนี้ :-
                   ภิกษุนั้นอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์นี้ว่า ท่านผู้มีความเดือดร้อนใจเกิดขึ้นต้องกลัวแน่, แต่ศีลของเราบริสุทธิ์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนใจเลย. เรานั้น  จักต้องกลัวต่อความตายทำไม ดังนี้ จึงตอบว่า  ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผมย่อมไม่กลัวต่อความตาย.
                   เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีอาบัติแก่ภิกษุนั้น.
                   แม้ในเรื่องความเดือดร้อนใจ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
                   ๓ เรื่องถัดจากเรื่องความเดือดร้อนใจนั้นไปเป็นเหมือนเรื่องความเพียรนั่นเอง.
                   บรรดาเรื่องเวทนาทั้งหลาย พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องทีแรกก่อน :-
                   ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในอธิวาสนขันติ ด้วยกำลังแห่งความพิจารณา จึงตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อันคนพอดีพอร้าย ไม่สามารถจะอดกลั้นได้. เพราะเหตุนั้นจึงไม่มีอาบัติแก่เธอ. ส่วนในเรื่องที่ ๒ เป็นถุลลัจจัย เพราะภิกษุนั้นไม่ได้ทำการอวดอุตริมนุสธรรมเป็นที่น้อมเข้ามาในตน กล่าวโดยอ้อมว่า ดูก่อน  อาวุโสทั้งหลาย อันปุถุชนไม่สามารถ (จะอดกลั้นได้).
                  ในเรื่องพราหมณ์ทั้งหลาย มีวินิจฉัยดังนี้ :-
                   ได้ยินว่า พราหมณ์คนนั้นได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงมาเถิดเจ้าข้า ดังนี้ อย่างเดียวก็หามิได้, (โดยที่แท้) คำพูดทั้งหมดที่เปล่งออกจากปากของพราหมณ์นั้นประกอบด้วยวาทะว่าอรหันต์ทั้งนั้น ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงปูลาดอาสนะ จงถวายน้ำล้างเท้าแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย, ขอพระอรหันต์ทั้งหลายจงล้างเท้าเถิด. ก็คำพูดนั้นของพราหมณ์นั้นเป็นการกล่าวด้วยความเลื่อมใส คือเป็นคำกล่าวของพราหมณ์ ผู้ถูกกำลังศรัทธาของตนให้ขะมักเขม้นแล้ว เพราะความเป็นผู้มีศรัทธาจิต. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะการกล่าวด้วยความเลื่อมใส. 
             อันภิกษุผู้ถูกเขากล่าวอย่างนั้น ไม่ควรเป็นผู้ร่าเริงยินดีเลยบริโภคปัจจัยทั้งหลาย ควรทำความเพียร ด้วยคิดอย่างนี้ว่าก็เราจักบำเพ็ญข้อปฏิบัติ อันจะยังตนให้ถึงพระอรหัต ดังนี้แล.  เรื่องพยากรณ์อรหัตผลเป็นเหมือนเรื่องละสังโยชน์นั่นแล.
             ในเรื่องครองเรือน มีวินิจฉัยดังนี้ :-
              ภิกษุนั้นได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ คนอย่างฉันไม่ควรแล ดังนี้เพราะเธอไม่มีความต้องการ ไม่มี ความเยื่อใยในความเป็นคฤหัสถ์, หาได้กล่าวด้วยความประสงค์จะอวดไม่; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.
             ในเรื่องห้ามกาม มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุนั้นเป็นผู้หมดความเยื่อใยในวัตถุกามและกิเลสกาม เพราะเล็งเห็นโทษ ที่เป็นโลกีย์นั่นเอง; เพราะฉะนั้น เธอจึงกล่าวว่า ดูก่อนคุณ กามทั้งหลาย ฉันห้ามได้แล้ว ดังนี้;  เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ. ก็คำว่า อาวฏา ในคำว่า อาวฏา เม นี้ มีใจความว่า ฉันป้องกันได้แล้ว คือห้ามเสียแล้ว ปฏิเสธแล้ว.
              ในเรื่องความอภิรมย์ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนคุณ ฉันยังยินดียิ่ง ด้วยความยินดีอย่างเยี่ยม ดังนี้ เพราะเธอเป็นผู้ไม่กระสัน และเพราะยังมีความยินดี ในอุเทศและ ปุจฉาเป็นต้น  ในศาสนา หาได้กล่าวด้วยความประสงค์จะอวดไม่; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.
                [เรื่องตั้งกติกาหลีกไป]
               ในเรื่องหลีกไป มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ข้อว่า ภิกษุใดจักหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน มีอธิบายว่า เมื่อสงฆ์กำหนดอาวาส มณฑลสีมาหรือสถานที่ใดที่หนึ่ง แล้วตั้งกติกาไว้ ภิกษุใดหลีกไปจากสถานที่นั้นก่อน ด้วยคิดว่า ภิกษุทั้งหลายจงเข้าใจเราว่าเป็นพระอรหันต์, ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก. ส่วนภิกษุใดเดินเลยสถานที่นั้นไป ด้วยกิจธุระของอาจารย์และอุปัชฌายะก็ดี ด้วยกรณียะเช่นนั้นอย่างอื่น เพื่อภิกขาจารหรือเพื่อประโยชน์แก่อุเทศและปริปุจฉาก็ดี, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น.
               ถ้าแม้นเมื่อภิกษุนั้นเดินไปด้วยกิจอย่างนั้น ภายหลังอิจฉาจารเกิดขึ้นว่าบัดนี้ เราจักไม่ไปในสถานที่นั้น. เพราะว่า ชนทั้งหลายจักยกย่องเราว่า เป็นพระอรหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.
               ฝ่ายภิกษุใดลุถึงสถานที่นั้นด้วยกรณียะบางอย่างแล้ว เป็นผู้ส่งใจไปในที่อื่น ด้วยอำนาจการใฝ่ใจในการสาธยายเป็นต้น หรือถูกโจรเป็นต้นไล่ติดตาม หรือเห็นเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว มีประสงค์จะเข้าไปหลบฝน จึงล่วงเลยสถานที่นั้นไป ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น.
               แม้ภิกษุผู้ไปด้วยยานหรือด้วยฤทธิ์ก็ไม่ต้องปาราชิก, แต่ ย่อมต้องอาบัติ     ด้วยการเดินไปด้วยเท้านั้น.
               ภิกษุผู้เดินไปถึงสถานที่แม้นั้น ไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมด้วยพวกภิกษุผู้ร่วมกันตั้งข้อกติกาไว้ไม่ต้องอาบัติ. เพราะว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดินไปอย่างนั้น ยังรักษากันและกันได้แม้ทั้งหมด.
               แม้ถ้าภิกษุทั้งหลายกำหนดสถานที่บางแห่งบรรดามณฑปและโคนต้นไม้เป็นต้น แล้วตั้งข้อกติกาไว้โดยนัยเป็นต้น
ว่า พวกเราจักรู้ภิกษุผู้นั่งหรือเดินจงกรมอยู่ในที่นี้ว่า เป็นพระอรหันต์ หรือเอาดอกไม้วางไว้โดยนัยเป็นต้นว่า พวกเราจักทราบภิกษุผู้ถือเอาดอกไม้เหล่านี้แล้วทำการบูชาว่า เป็นพระอรหันต์.
               แม้ในข้อกติกวัตรนั้น เมื่อภิกษุทำอยู่เหมือนอย่างนั้นด้วยอำนาจอิจฉาจาร เป็นปาราชิกเหมือนกัน. 
              แม้ถ้าอุบาสกสร้างวิหารไว้ในระหว่างทางก็ดี ตั้งปัจจัยมีจีวรเป็นต้นไว้ก็ดี ด้วยกล่าวว่า ขอภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลายจงพักอยู่ในวิหารหลังนี้ และจงถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. 
              แม้ในข้อกติกวัตรที่อุบาสกตั้งไว้นั้น เมื่อภิกษุพักอยู่หรือถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจอิจฉาจารเป็นปาราชิกเหมือนกัน. แต่ว่านั่นเป็นกติกวัตรที่ไม่ชอบธรรม; เพราะเหตุนั้นจึงไม่ควรทำ.
              อีกอย่างหนึ่ง วัตรอื่นเห็นปานนี้มีอาทิอย่างนี้ว่า ในภายในไตรมาสนี้ ภิกษุทั้งหมดจงเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร หรือว่าทรงไว้ซึ่งธุดงค์ที่เหลือ มีองค์แห่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต             เป็นวัตรเป็นต้น, หรือว่า จงเป็นผู้สิ้นอาสวะหมดทุกรูปด้วยกัน, ดังนี้ (ชื่อว่าวัตรที่ไม่ชอบธรรม).
              แท้จริง ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในชนบทต่างๆ ย่อมประชุมกัน. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกทุพพลภาพมีกำลังน้อย ย่อมไม่สามารถจะตามรักษาข้อวัตรเห็นปานนั้นได้. เพราะเหตุนั้น ข้อวัตรแม้เห็นปานนั้นจึงไม่ควรทำ.  และข้อวัตรมีอาทิอย่างนี้ว่า ตลอดไตรมาสนี้ ภิกษุหมดทุกรูปด้วยกันไม่พึงแสดงธรรม ไม่พึงเรียนธรรม ไม่พึงให้บรรพชา, แต่ควรเรียนเอามูควัตร ควรให้ลาภสงฆ์แม้แก่ภิกษุผู้อยู่ภายนอกสีมาด้วย ดังนี้ ก็ไม่ควรทำเหมือนกัน.
               [เรื่องพระมหาโมคคัลลานะเห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต]
               พระลักขณเถระที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ในลักขณสังยุตว่า อายสฺมา จ ลกฺขโณ.๑- เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีอยู่ภายในแห่งภิกษุชฎิลพ้นองค์ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุดแห่งอาทิตตปริยายสูตรเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง. ก็เพราะท่านองค์นี้ประกอบด้วยอัตภาพเสมือนพรหม สมบูรณ์ด้วยลักษณะเต็มเปี่ยมด้วยอาการทุกอย่าง ฉะนั้น ท่านจึงถึงความนับว่า ลักขณะ ส่วนพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นพระอัครสาวกที่ ๒ ได้บรรลุ เป็น         พระอรหันต์ในวันที่ ๗ แต่วันที่ท่านบวชแล้ว.
๑- สํ. นิทาน. เล่ม ๑๖/ข้อ ๖๓๖
              สองบทว่า สิตํ ปาตฺวากาสิ ความว่า พระมหาโมคคัลลานเถระได้ทำการยิ้มน้อยๆ ให้ปรากฏ.  มีคำอธิบายว่า ประกาศคือแสดง.
               ถามว่า ก็พระเถระเห็นอะไร จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ?
               แก้ว่า พระเถระเห็นสัตว์ผู้เกิดอยู่ในเปตโลกตนหนึ่ง มีแต่ร่างกระดูกซึ่งมาแล้วในบาลีข้างหน้า, ก็แลการเห็นสัตว์ตนนั้น เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ ไม่ใช่เห็นด้วยจักษุประสาท. จริงอยู่ อัตภาพเหล่านั้นหาได้มาสู่คลองแห่งจักษุประสาทไม่.
               ถามว่า ก็พระเถระเห็นอัตภาพมีรูปอย่างนั้นแล้ว เพราะเหตุไรจึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ ในเมื่อควรทำความกรุณาเล่า?.
               แก้ว่า เพราะท่านอนุสรณ์ถึงสมบัติของตน และพระญาณของพระพุทธเจ้าด้วย.
               แท้จริง พระเถระเห็นเปรตตนนั้นแล้ว ได้อนุสรณ์ถึงสมบัติของตนว่า อัตภาพเห็นปานนี้อันบุคคลผู้ชื่อว่ายังไม่เห็นสัจจะพึงได้, เราพ้นแล้วจากอัตภาพเช่นนั้น, เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ และได้ระลึกถึงสมบัติแห่งพระพุทธญาณอย่างนี้ว่า ญาณสมบัติของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมวิบากเป็นอจินไตย อันบุคคลไม่พึงคิด ๒- น่าอัศจรรย์, พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงแสดงทำให้ประจักษ์  หนอ ธรรมธาตุอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแทงตลอดดีแล้วดังนี้ จึงได้ทำการแย้มพรายให้ปรากฏ.
               ก็ธรรมดาว่า พระขีณาสพทั้งหลายไม่ทำการแย้มพรายให้ปรากฏ เพราะไม่มีเหตุ; เพราะฉะนั้น พระลักขณเถระจึงถามพระมหาโมคคัลลานเถระนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส โมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุ?
               อะไรหนอเป็นปัจจัยแห่งการทำแย้มพรายให้ปรากฏ? 
               แต่พระเถระกล่าวตอบว่า อาวุโสลักขณะ ยังไม่เป็นกาลสมควรแลเป็นต้น โดยเหตุที่ท่านมีความประสงค์จะให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพยานเสียก่อน จึงพยากรณ์ เพราะเหตุว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังมิได้เห็นความอุบัติขึ้นนี้ด้วยตนเองแล้ว จะบังคับให้เชื่อได้โดยยาก.
               ภายหลังแต่นั้น  พระมหาโมคคัลลานเถระ ถูก            พระลักขณเถระถามในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้พยากรณ์โดยนัยมีอาทิว่า อิธาหํ อาวุโส.
               บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า อฏฺฐิกสงฺขลิกํ   ได้แก่ ผู้มีแต่ร่างกระดูกซึ่งมีสีขาว ไม่มีเนื้อและโลหิต.  แร้งยักษ์ เหยี่ยวยักษ์และนกตะกรุมยักษ์ แม้เหล่านี้ 
               พึงทราบว่า แร้งบ้าง เหยี่ยวบ้าง นกตะกรุมบ้าง. ก็รูปนั้นไม่มาแม้สู่คลอง (แห่งจักษุ) ของฝูงแร้งเป็นต้นตามปกติ.
               สองบทว่า อนุปติตฺวา อนุปติตฺวา ได้แก่ พากันติดตามไปแล้วๆ.
               บทว่า วตุเทนฺติ ได้แก่ จิกแล้วบินไป. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า วิตุทนฺติ ก็มี. อธิบายว่า ย่อมสับจิก ด้วยจะงอยปากซี่โลหะที่คมกริบเปรียบด้วยคมดาบ. 
               ศัพท์ว่า สุทํ ในคำว่า สา สุทํ อฏฺฏสฺสรํ นี้ เป็นนิบาต. อธิบายว่า อัฏฐิกสังขลิกเปรตตนนั้นย่อมทำเสียงร้องครวญคราง คือเสียงโอดครวญ.
               ได้ยินว่า อัตภาพเช่นนั้น แม้มีประมาณตั้งโยชน์หนึ่งย่อมเกิดขึ้น และ   มีประสาทที่พองขึ้น เป็นเช่นกับหัวฝีที่งอมแล้ว เพื่อความเสวยผลแห่งอกุศล เพราะฉะนั้น อัฏฐิกสังขลิกเปรตตนนั้นเดือดร้อน เพราะเวทนาที่มีกำลัง จึงได้ทำเสียงเช่นนั้นแล.
               ก็แล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงย้ำธรรมสังเวชซึ่งเกิดขึ้น เพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลายว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ไปในวัฏฏะ ย่อมไม่พ้นจากอัตภาพเห็นปานนี้ไปได้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโส เรานั้นได้มีความคิดเช่นนี้ว่า ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริงหนอ ดังนี้.
               สองบทว่า ภิกฺขู อุชฺฌายนฺติ ความว่า ความอุบัติขึ้นแห่งเปรตนั้น ไม่เห็นประจักษ์แก่ภิกษุเหล่าใด, ภิกษุเหล่านั้นพากันโพนทะนา.
               ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศอานุภาพของพระเถระ จึงตรัสพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักษุอยู่หนอ เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น สาวกทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุ เพราะอรรถว่า สาวกเหล่านั้นมีจักษุเป็นแล้ว เกิดแล้ว อุบัติแล้ว. 
               ความว่า เป็นผู้มีจักษุเป็นแล้วคือมีจักษุเกิดแล้ว ยังจักษุให้เกิดขึ้นแล้วอยู่. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า ยตฺร ซึ่งมีอยู่
               ในคำว่า ยตฺร หิ นาม นี้ เป็นคำระบุถึงเหตุ.
               ในคำว่า   จกฺขุภูตา เป็นต้นนั้น มีการประกอบเนื้อความดังต่อไปนี้ :-
                เพราะเหตุว่า แม้สาวกจักรู้หรือจักเห็นหรือจักทำอัตภาพเห็นปานนี้ ให้เป็นพยานได้; ฉะนั้น เราจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักษุอยู่หนอดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีญาณอยู่หนอดังนี้.
               ข้อว่า ปุพฺเพว เม โส ภิกฺขเว สตฺโต ทิฏฺโฐ มีความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ตรัสว่า เราได้แทงตลอดสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิมัณฑ์ ทำหมู่สัตว์และภพ คติ ฐิติและนิวาส หาประมาณมิได้ ในจักรวาลทั้ง  หลายหาประมาณมิได้ ให้ประจักษ์อยู่ ได้เห็นสัตว์นั้นแล้วในกาลก่อนแล.
               บทว่า โคฆาตโก ความว่า เป็นสัตว์ผู้ฆ่าโคทั้งหลายแล้ว ปล้อนเนื้อออกจากกระดูกขายเลี้ยงชีวิต.
               หลายบทว่า ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากาวเสเสน ความว่า แห่งอปราปรเวทนียกรรมอันเจตนาต่างๆ ประมวลมาแล้วนั้นนั่นแล. จริงอยู่ บรรดาเจตนาเหล่านั้น ปฏิสนธิในนรกอันเจตนาใดให้เกิดขึ้น แล้วเมื่อวิบากแห่งเจตนาดวงนั้นสิ้นไปแล้ว, ปฏิสนธิในเปรตเป็นต้น ย่อมบังเกิดอีก; เพราะทำกรรมที่เหลือ หรือกรรมนิมิตให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ปฏิสนธินั้น ท่านจึงเรียกว่า วิบากที่เหลือแห่งกรรมนั้นนั่นเอง เพราะมีส่วนเสมอด้วยกรรม หรือเพราะมีส่วนเสมอ ด้วยอารมณ์.
               ก็สัตว์นี้เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ด้วยวิบากยังเหลืออยู่แห่งกรรมนั้นนั่นเอง.
               ได้ยินว่า ในเวลาเคลื่อนจากนรก สัตว์นั้นได้มีนิมิตคือกองกระดูกแห่งโคทั้งหลาย อันถูกทำไม่ให้มีเนื้อ, สัตว์นั้น เมื่อจะทำกรรมนั้น แม้ที่ปกปิดให้เป็นดุจปรากฏแก่วิญญูชนทั้งหลาย จึงเกิดเป็นอัฏฐิสังขลิกเปรต. ๒- องฺ จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๗๗
               [เรื่องมังสเปสีเปรต]
               ในเรื่องมังสเปสีเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               มังสเปสีเปรตนั้นเป็นคนฆ่าโค ทำชิ้นเนื้อตากให้แห้งแล้ว  เลี้ยงชีวิตด้วยการขายเนื้อแห้งหลายปี. ด้วยเหตุนั้น เวลาเคลื่อนจากนรก เขา จึงได้     มีนิมิตคือชิ้นเนื้อนั่นเอง เขาจึงเกิดเป็นมังสเปสีเปรต.
               [เรื่องมังสปิณฑเปรต]
               ในเรื่องมังสปิณฑเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               มังสปิณฑเปรตนั้นเป็นนายพรานนกจับนกได้แล้ว เวลาขาย ได้ทำการถอนขนปีกและหนังออกหมด ให้เป็นเพียงก้อนเนื้อแล้ว ขายเลี้ยงชีวิต.  ด้วยเหตุนั้น เวลาเคลื่อนจากนรก เขาจึงได้มีนิมิตคือก้อนเนื้อเท่านั้น.  เขา จึงเกิด         เป็นมังสปิณฑเปรต.
               [เรื่องนิจฉวีเปรต]
              ในเรื่องนิจฉวีเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               นิจฉวีเปรตนั้นเป็นคนฆ่าแพะ ฆ่าแพะแล้วถลกหนัง เลี้ยงชีวิต จึงได้     มีนิมิตคือร่างแพะปราศจากหนัง ตามนัยก่อนนั่นแล เขาจึงได้เกิดเป็นนิจฉวีเปรต.
               [เรื่องอสิโลมเปรต]
              ในเรื่องอสิโลมเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               อสิโลมเปรตนั้นเป็นคนฆ่าสุกร ใช้ดาบฆ่าสุกรทั้งหลายอันตนปรนปรือด้วยเหยื่อสิ้นกาลนาน แล้วเลี้ยงชีวิตมาตลอดราตรีนาน. เขา จึงได้มีนิมิต คือ ภาวะของคนที่เงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็นอสิโลมเปรต.
               [เรื่องสัตติโลมเปรต]     
               ในเรื่องสัตติโลมเปรต พึงทราบวินิจฉัยต่อไป :-
               สัตติโลมเปรตนั้นเป็นคนล่าเนื้อ พาเอาเนื้อตัวหนึ่งและถือหอกเล่มหนึ่งไปป่าแล้ว   ใช้หอกแทงเนื้อที่พากันมาสู่ที่ใกล้เนื้อนั้นให้ตาย. เขา จึงได้มีนิมิต คือ ภาวะที่ใช้หอกแทง. ฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็นสัตติโลมเปรต.
               [เรื่องอุสุโลมเปรต]           
               ในเรื่องอุสุโลมเปรต พึงทราบวินิจฉัยต่อไป :-
               บทว่า การณิโก ความว่า เป็นบุรุษผู้เบียดเบียนพวกคนผู้ผิดต่อพระราชา ด้วยเหตุทั้งหลายเป็นอันมาก ลงท้ายใช้ลูกศรยิงให้ตาย. 
               ได้ยินว่า เขาทราบก่อนว่า คนถูกยิงส่วนโน้นจึงจะตาย ดังนี้แล้วจึงยิง. เขา นั่นเอง เลี้ยงชีวิตแล้วบังเกิดในนรก ในเวลาเกิดในเปรตวิสัยนี้ ได้มีนิมิตคือภาวะที่ใช้ศรยิงด้วยวิบากที่ยังเหลือจากนรกนั้น. ฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็นอุสุโลมเปรต.
               [เรื่องสูจิโลมเปรต]
               ในเรื่องสูจิโลมเปรต พึงทราบวินิจฉัยต่อไป :-
               บทว่า สารถิ คือเป็นคนฝึกม้า. ในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า เป็นคนฝึกโค ดังนี้บ้าง.  เขาได้มีนิมิตคือภาวะที่แทงด้วยเข็มปฏัก. เขาจึงเกิดเป็นสูจิโลมเปรต.
               [เรื่องสูจิโลมเปรตที่ ๒]
               ในเรื่องสูจิโลมเปรตเรื่องที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยต่อไป :-
               บทว่า สูจี คือ เป็นคนทำการส่อเสียด. 
                ได้ยินว่า เขาทำลายมนุษย์ทั้งหลายและพวกเดียวกัน และยุยงในราชตระกูลว่า คนนี้มีความผิดชื่อนี้ คนนี้ทำผิดชื่อนี้ดังนี้, ครั้นยุยงแล้ว ทำให้ถึงความพินาศวอดวาย. ฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็นสูจิโลมเปรต เพราะทำนิมิตคือกรรม เพื่อการเสวยทุกข์จากการทำลายด้วยเข็มทั้งหลาย เหมือนอย่างที่เขาทิ่มแทงทำลายพวกมนุษย์ ฉะนั้น.
               [เรื่องอัณฑภารเปรต]     
               ในเรื่องเปรตแบกลูกอัณฑะ พึงทราบต่อไป :-
               บทว่า คามกูโฏ คือ เป็นอำมาตย์ผู้ตัดสินความ. 
               สัตว์นั้นได้มีอัณฑะเท่าหม้อ คือ มีขนาดเท่าหม้อใหญ่ เพราะมีส่วนเสมอ ด้วยกรรม. ด้วยว่า สัตว์นั้น เพราะเหตุที่รับสินบนในสถานที่ลับปกปิด เมื่อจะทำโทษให้ปรากฏ ด้วยการตัดสินความโกง ได้กระทำพวกเจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ; เพราะฉะนั้น อวัยวะลับของสัตว์นั้นจึงบังเกิดปรากฏ. เพราะเหตุที่สัตว์นั้น เมื่อเริ่มตั้งอาญา ได้ยกของหนักอันไม่ควรจะทนได้ให้แก่ชนเหล่าอื่น; เพราะฉะนั้น อวัยวะลับของสัตว์นั้นจึงบังเกิดเป็นของหนักอันไม่ควรจะทน. เพราะเหตุที่สัตว์นั้นดำรงอยู่ในตำแหน่งใด ควรจะเป็นผู้สม่ำเสมอ, แต่ดำรงอยู่ในตำแหน่งนั้นแล้ว หาได้เป็นผู้สม่ำเสมอไม่; ฉะนั้น สัตว์นั้นจึงได้มีการนั่งไม่สม่ำเสมอบนอวัยวะลับ.
               [เรื่องปรทาริกเปรต]
               ในเรื่องเปรตผิดเมียท่าน พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
               สัตว์นั้น เมื่อสัมผัสผัสสะที่มีเจ้าของที่เขาคุ้มครองรักษาแล้วของคนอื่น ยังจิตให้รื่นรมย์ด้วยความสุขในกามอันเป็นความสุขในอุจจาระ จึงบังเกิดในเปรตวิสัยนั้น เพื่อจะสัมผัสผัสสะเป็นคูถ เสวยทุกข์ เพราะมีส่วนเสมอด้วยกรรม.
               ในเรื่องพราหมณ์ชั่ว๑- พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
               เพราะชื่อว่า มาตุคาม ไม่เป็นอิสระในผัสสะของตน, แต่หญิงนั้นขโมยผัสสะของสามีนั้น ยังความอภิรมย์ให้เกิดแก่คนเหล่าอื่น : ฉะนั้น จึงได้บังเกิดเป็นหญิงเปรตปราศจากผิว เพื่อกำจัดสัมผัสเป็นสุขนั้นเสียแล้ว เสวยสัมผัสเป็นทุกข์ เพราะมีส่วนเสมอด้วยกรรม. ๑- ในเรื่องนี้ไม่มีอธิบาย อาจจะตกไปก็เป็นได้, เลยไปอธิบายเรื่องหญิงเปรตถัดไป.
               [เรื่องมังคุลีหญิงเปรต]
               ในเรื่องมังคุลีหญิงเปรต พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
               บทว่า มงฺคุฬี ได้แก่ มีรูปผิดไป คือมองดูน่าชัง น่าเกลียด.
               ได้ยินว่า หญิงนั้นทำหน้าที่เป็นแม่มด คือหน้าที่เป็นทาสีของยักษ์ กล่าวว่า เมื่อทำพลีกรรมอย่างนี้ ด้วยสิ่งนี้และสิ่งนี้ ความเจริญของพวกท่าน ชื่อนี้จักมี ดังนี้ แล้วถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นต้น ของมหาชนด้วยการล่อลวงยังมหาชนให้ยึดถือมิจฉาทิฏฐิอันเป็นทิฏฐิชั่ว. เพราะฉะนั้น หล่อนจึงเกิดเป็นนางเปรตมีกลิ่นเหม็น เพราะขโมยของหอมและดอกไม้เป็นต้น เป็นนางเปรตมองดูน่าชัง ผิดรูป น่าเกลียด เหตุให้มหาชนยึดถือความเห็นชั่ว เพราะมีส่วนเสมอด้วยกรรมนั้น.
               [เรื่องโอกิลินีหญิงเปรต]
               เรื่องโอกิลินีหญิงเปรต พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
             ข้อว่า อุปกฺกํ โอกิลินึ โอกีรณึ มีความว่า ได้ยินว่า นางเปรตนั้นนอนอยู่บนเชิงตะกอนถ่านเพลิง ดิ้นพลิกไปมาถูกไฟไหม้; เพราะฉะนั้น นางจึงเป็นผู้ถูกไฟครอกมีสรีระสุกด้วยไฟกรด มีน้ำเหงื่อหยด มีสรีระเปียก คือหยาดน้ำเหงื่อทั้งหลาย ย่อมหลั่งออกจากสรีระของนางเปรตนั้น และมีถ่านเพลิงเกลื่อนกล่น คือเกลื่อนกล่นด้วยถ่านเพลิง.
             ด้วยว่าถ่านเพลิงทั้งหลาย มีสีดังดอกทองกวาว ย่อมตกแม้จากเบื้องล่างของนางเปรตนั้น ถ่านเพลิงทั้งหลาย ย่อมตกแม้ในข้างทั้ง ๒ แม้จากอากาศในเบื้องบนของนางเปรตนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ถูกไฟครอก น้ำเหงื่อหยด มีถ่านเพลิงเกลื่อนกล่น. นางนั้นเป็นคนขี้หึง เอากระทะถ่านเพลิงราดหญิงร่วมผัว.
              ได้ยินว่า นางระบำคนหนึ่งของพระราชาพระองค์นั้น วางกระทะถ่านเพลิงไว้ในที่ใกล้ เช็ดน้ำจากตัวและอบ ด้วยฝ่ามือ. พระราชาทรงสนทนากับนางระบำนั้น และทรงแสดงอาการโปรดปรานมากไป.
               พระอัครมเหสีทรงทนดูเหตุการณ์นั้นไม่ไหว ทรงหึง เมื่อพระราชาเสด็จออกไปไม่ทันนาน ก็ทรงหยิบกระทะถ่านเพลิงนั้น ราดถ่านเพลิงลงเบื้องบนนางระบำนั้น. พระนางทำกรรมนั้นแล้ว บังเกิดในเปตโลก   เพื่อ    เสวยวิบากเช่นนั้นนั่นแล.
               [เรื่องโจรฆาตเปรต]               
               ในเรื่องโจรฆาตเปรต พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
               เพชฌฆาตโจรนั้นตัดศีรษะพวกโจรมาช้านาน ตามคำสั่งของพระราชา เมื่อบังเกิดในเปตโลก จึงได้บังเกิดเป็นตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะ.
               [เรื่องพระภิกษุเปรตเป็นต้น]
               ในเรื่องภิกษุ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
              บทว่า ปาปภิกฺขุ คือ เป็นภิกษุลามก.
               ได้ยินว่า ภิกษุนั้นบริโภคปัจจัย ๔ ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของชาวโลก เป็นผู้ไม่สำรวมทางกายทวารและวจีทวาร มีอาชีพอันทำลายแล้ว เที่ยวเล่นสนุกสนานตามชอบใจ. ภายหลังถูกไฟไหม้อยู่ในนรกตลอดพุทธันดรหนึ่ง เมื่อเกิดในเปตโลก ก็บังเกิดด้วยอัตภาพเช่นกับภิกษุนั่นแหละ. แม้ในเรื่องภิกษุณี เรื่องสิกขมานา เรื่องสามเณร 
                เรื่องสามเณรีเปรต ก็วินิจฉัยนี้เหมือนกัน.
               [เรื่องแม่น้ำตโปทา]
              ในเรื่องแม่น้ำตโปทา พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
              บทว่า อจฺโฉทโก แปลว่า มีน้ำใส
              บทว่า สีโตทโก แปลว่า มีน้ำเย็น.
              บทว่า สาโตทโก แปลว่า มีน้ำรสอร่อย.
              บทว่า เสโตทโก แปลว่า มีน้ำบริสุทธิ์ คือ ไม่มีสาหร่ายแหนและเปือกตม.
               บทว่า สุติฏฺโฐ คือ เข้าถึงแล้วด้วยท่าทั้งหลายที่ดี.
               บทว่า รมณีโย แปลว่า น่าให้เกิดความยินดี.
               บทว่า จกฺกมตฺตานิ แปลว่า มีประมาณเท่าล้อรถ.
               ข้อว่า กุฏฺฐิตา สนฺทติ ความว่า เป็นแม่น้ำร้อนจัด เดือดพล่านไหลไปอยู่.
               บทว่า ยตายํ ภิกฺขเว ตัดบทเป็น ยโต อยํ ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ที่ใด...?
               บทว่า โส ทโห แปลว่า ห้วงน้ำนั้น.
               ถามว่า ก็แม่น้ำตโปทานี้ ไหลมาแต่ที่ไหน?
               แก้ว่า ได้ยินว่า ภายใต้ภูเขาเวภารบรรพต มีภพนาคประมาณ ๕๐๐โยชน์ของพวกนาคผู้อยู่บนภาคพื้นเช่นกับเทวโลก ประกอบด้วยฟื้นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี และด้วยอาราม และอุทยาน. ห้วงน้ำนั้นอยู่ในที่เล่นของพวกนาคในภพนาคนั้น. แม้น้ำตโปทานี้ไหลมาแต่ห้วงน้ำนั้น.
               ข้อว่า ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนุตริกาย อาคจฺฉติ ความว่า ได้ยินว่า มหาเปตโลกผ่านเมืองราชคฤห์มา, แม่น้ำตโปทานี้มาจากระหว่างมหาโลหกุมภีนรก ๒ ขุมในมหาเปตโลกนั้น; ฉะนั้น จึงเดือดพล่านไหลไปอยู่.
               [เรื่องการรบ]
               ในเรื่องการรบ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
               ข้อว่า นนฺทิ จรติ ได้แก่ ตีกลองพิชัยเภรีเที่ยวประกาศไป.
               ข้อว่า ราชา อาวุโส ลิจฺฉวีหิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระนั่งในที่พักกลางวันและที่พักกลางคืนของตน เห็นพวกเจ้าลิจฉวีผู้มีฝีมือชำนาญยิงได้แม่นยำ เมื่อคำนึงว่า ก็พระราชาทรงก่อสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้เห็นพระราชาทรงปราชัย หนีไปอยู่ ด้วยทิพยจักษุ. ลำดับนั้น พระเถระจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐากของพวกท่านทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว.
            คำว่า สจฺจํ ภิกฺขเว โมคฺคลฺลาโน อาห ความว่า โมคคัลลานะ เมื่อคำนึงในเวลาพระราชาทรงปราชัย กล่าวสิ่งที่ตนเห็น ชื่อว่ากล่าวจริง.
               [เรื่องช้างลงน้ำ]               
               ในเรื่องช้างลงน้ำ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
               บทว่า สปฺปินิกาย คือ แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้.
               บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ คือไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.
               บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.
               ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก.
               ได้ยินว่า ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำ แล้วพ่นใส่กันและกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้นตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.
               ข้อว่า โกญฺจํ กโรนฺตานํ ความว่า ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสอดงวงเข้าในปากแล้ว ทำเสียงดังนกกระเรียน.
               คำว่า สทฺทํ อสฺโสสํ ความว่า เราได้ยินเสียงโกญจนาทนั้น.
               ข้อว่า อตฺเถโส ภิกฺขเว สมาธิ โส จ โข อปริสุทฺโธ ความว่า สมาธินั่นของโมคคัลลานะ มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล เป็นของไม่บริสุทธิ์.
                ได้ยินว่า พระเถระในวันที่ ๗ แต่เวลาบวช ได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้น ยังไม่มีวสี (ความชำนาญ) อันประพฤติแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่างในสมาบัติ ๘ ยังมิได้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิให้บริสุทธิ์ด้วยดี นั่งเข้าจตุตถฌานแน่วแน่ กระทำให้มีเพียงแต่สัญญาแห่งการนึก การเข้า การตั้งใจ การออกและการพิจารณาเท่านั้น ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้ยินเสียงแห่งช้างทั้งหลาย ได้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราได้ยินเสียงภายในสมาบัติ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธินั่นมีอยู่, แต่สมาธินั้นแลไม่บริสุทธิ์.
               [เรื่องพระโสภิตะ]
               ในเรื่องพระโสภิตะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               ข้อว่า อหํ อาวุโสปญฺจกปฺปสตานิ อนุสฺสรามิ   ความว่า พระเถระกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ ด้วยอาวัชชนจิตเดียว. ก็เมื่อถือเอาความอีกอย่างหนึ่ง การระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีตนั้นๆ ด้วยอาวัชชนจิตต่างๆ กันโดยลำดับ ของพระสาวกทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์; 
               เพราะฉะนั้น       ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยกโทษ.   แต่เพราะพระโสภิตะนั้นกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ ด้วยอาวัชชนจิตเดียว ดังนี้; เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงยกโทษ.
               ข้อว่า อตฺเถสา ภิกฺขเว โสภิตสฺส สา จ โข เอกาเยว ชาติ   ความว่า ชาติที่โสภิตะกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ ดังนี้ของโสภิตะ มีอยู่, 
               ก็แล ชาตินั้นมีเพียงชาติเดียวเท่านั้น. อธิบายว่า โสภิตะมิได้ระลึกโดยผิดลำดับไม่ติดต่อกัน.
               ถามว่า พระโสภิตะนี้ระลึกชาติได้อย่างไร?
               แก้ว่า ได้ยินว่า พระโสภิตะนี้บวชในลัทธิเดียรถีย์ ยังสัญญีสมาบัติให้บังเกิดแล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมทำกาละแล้ว บังเกิดในอสัญญีภพกว่า ๕๐๐ กัป. ท่านอยู่ในอสัญญีภพนั้นตราบเท่าชนมายุในที่สุด  อุบัติในมนุษยโลก แล้วบวชในพระศาสนาได้ทำวิชา ๓ ให้แจ้ง  ท่านเมื่อระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน เห็นปฏิสนธิในอัตภาพนี้ ต่อจากนั้นได้เห็นเฉพาะจุติในอัตภาพที่ ๓.
               ลำดับนั้น ท่านไม่อาจระลึกถึงอัตภาพอันไม่มีจิตในระหว่างจุติและปฏิสนธิทั้ง ๒ ได้ จึงได้กำหนดโดยนัยว่า เราบังเกิดในอสัญญีภพแน่นอน. พระโสภิตเถระนั้นกำหนดได้อยู่อย่างนี้ได้กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก เหมือนกับแยงปลายแห่งขนทรายที่ผ่าเป็น ๗ ส่วนเข้ากับปลาย เหมือนกับการแสดงรอยเท้าในอากาศ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ในเพราะเรื่องนี้นั่นแหละว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรา ผู้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยในกาลก่อน โสภิตะนี้เป็นเลิศ๑- ดังนี้.
๑- องฺ เอก. ๒๐/ข้อ ๑๔๙

วินีตวัตถุ อุทานคาถา จตุตถปาราชิกสิกขาบท [ว่าด้วย อุตตริมนุสสธรรม] ปาราชิกกัณฑ์ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์

[๒๘๒]   เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุมรรคผล  ๑ เรื่อง  
             เรื่องอยู่ป่า ๑ เรื่อง เรื่องเที่ยวบิณฑบาต ๑ เรื่อง
             เรื่องอุปัชฌายะ ๒ เรื่อง เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง
             เรื่องละสัญโญชน์ ๑ เรื่อง เรื่องธรรมในที่ลับ ๑ เรื่อง
             เรื่องวิหาร ๑ เรื่อง เรื่องบำรุง ๑ เรื่อง
             เรื่องทำไม่ยาก ๑ เรื่อง เรื่องความเพียร ๑ เรื่อง
             เรื่องไม่กลัวความตาย ๑ เรื่อง เรื่องความเสียหาย ๑ เรื่อง
             เรื่องความประกอบชอบ ๑ เรื่อง เรื่องปรารภความเพียร ๑ เรื่อง เรื่องประกอบความเพียร ๑ เรื่อง เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง เรื่องพราหมณ์  ๕ เรื่อง เรื่องพยากรณ์มรรคผล  ๓ เรื่อง เรื่องครองเรือน ๑ เรื่อง เรื่องห้ามกาม  ๑ เรื่อง เรื่องยินดี ๑ เรื่อง เรื่องหลีกไป ๑ เรื่อง
 อัฏฐิสังขลิกเปรต เคยเป็นนายโคฆาต  ๑ เรื่อง
       มังสเปสิเปรต เคยเป็นนายโคฆาต ๑ เรื่อง
         มังสปิณฑเปรต เคยเป็นพรานนก ๑ เรื่อง
              นิจฉวิเปรต เคยเป็นคนฆ่าแกะ ๑ เรื่อง
           อสิโลมเปรต เคยเป็นคนฆ่าสุกร ๑ เรื่อง
          สัตติโลมเปรต เคยเป็นพรานเนื้อ ๑ เรื่อง
   อุสุโลมเปรต เคยเป็นนายเพชฌฆาต  ๑ เรื่อง
            สูจิโลมเปรต เคยเป็นนายสารถี ๑ เรื่อง
              สูจกเปรต เคยเป็นคนส่อเสียด ๑ เรื่อง
กุมภัณฑเปรต เคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน ๑ เรื่อง
            คูถนิมุคคเปรต เคยเป็นชู้กับภรรยาเขา ๑ เรื่อง
              คูถขาทิเปรต เคยเป็นพราหมณ์ชั่วช้า  ๑ เรื่อง
            นิจฉวิตถีเปรต เคยเป็นหญิงนอกใจผัว  ๑ เรื่อง
                  มังคุลิตถีเปรต เคยเป็นหญิงแม่มด  ๑ เรื่อง
    โอกิลินีเปรต เคยเป็นหญิงขี้หึงเอาไฟคลอกหญิงร่วมสามี  ๑ เรื่อง อสีสกพันธเปรต เคยเป็นนายโจรเพชฌฆาต ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุเปรต  ๑ เรื่อง เรื่องภิกษุณีเปรต  ๑ เรื่อง  เรื่องสิกขมานาเปรต  ๑ เรื่อง เรื่องสามเณรเปรต ๑ เรื่อง  เรื่องสามเณรีเปรต  ๑ เรื่อง ซึ่งในครั้งศาสนาพระพุทธกัสสปเธอเหล่านั้นบวชแล้ว ได้ทำกรรมลามกไว้ เรื่องแม่น้ำตโปทา ๑ เรื่อง  เรื่องรบ ณ กรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง   เรื่องช้างลงน้ำ ๑ เรื่อง เรื่องพระโสภิตะอรหันต์ ระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัล์ป ๑ เรื่อง.
เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ
[๒๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอวดอ้างคุณวิเศษด้วยสำคัญว่าได้บรรลุแล้วมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ไม่ต้องอาบัติเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ.
เรื่องอยู่ป่า
[๒๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ป่าด้วยตั้งใจว่าคนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก        ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงอยู่ป่าด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุ ใด              อยู่ด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องเที่ยวบิณฑบาต
 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจ เช่นนั้น      ภิกษุใดเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องอุปัชฌายะ ๒ เรื่อง
[๒๘๕] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส พวกภิกษุสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็นพระอรหันต์ แล้วมีความรังเกียจ  จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
             ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส พวกภิกษุอันเตวาสิกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง
[๒๘๖] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเดินจงกรมอยู่ด้วยตั้งใจว่าคนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
             ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงยืนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดยืนด้วยตั้งใจ เช่นนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.
             ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนั่งอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงนั่งด้วยตั้งใจเช่นนั้นภิกษุใดนั่งด้วยตั้งใจ เช่นนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.
             ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งนอนอยู่ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุไม่พึงนอนด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดนอนด้วยตั้งใจ เช่นนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องละสัญโญชน์
[๒๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งแม้ภิกษุนั้นก็กล่าวอวดอย่างนี้ว่า อาวุโส แม้ผมก็ละสัญโญชน์ได้ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า     ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องธรรมในที่ลับ
[๒๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม ภิกษุผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ตักเตือนเธอว่า อาวุโส คุณอย่าได้พูดเช่นนั้น เพราะธรรมเช่นนั้นไม่มีแก่คุณ ภิกษุนั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิกแต่ต้องอาบัติทุกกฏ ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม เทพดาตักเตือนเธอว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าอย่าได้พูดเช่นนั้น เพราะธรรมนั้นไม่มีแก่พระคุณเจ้า ภิกษุนั้นมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่       ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องวิหาร
[๒๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพูดกะอุบาสกคนหนึ่งว่า ดูกรอุบาสก ภิกษุผู้อยู่ในวิหารของท่านนั้น เป็นพระอรหันต์ และภิกษุนั้นก็อยู่ในวิหารของอุบาสกนั้น เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องบำรุง
 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดกะอุบาสกผู้หนึ่งว่า ดูกรอุบาสกภิกษุที่ท่านบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น เป็นพระอรหันต์ และอุบาสกนั้นก็บำรุงภิกษุนั้นอยู่ด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องทำไม่ยาก
[๒๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ  ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุนั้นว่าอุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ? ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง ไม่ใช่ของทำได้ยากแล้วมีความรังเกียจว่าเฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องความเพียร
 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ  ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุนั้นว่า อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ? ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันท่านผู้ปรารภความเพียรแล้ว พึงยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องไม่กลัวความตาย
 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พูดกะภิกษุนั้นว่า ดูกรอาวุโส ท่านอย่าได้กลัวเลย ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผมไม่กลัวต่อความตาย แล้วมีความรังเกียจว่าเฉพาะท่านเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องความเสียหาย
 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พูดกับภิกษุนั้นว่า ดูกรอาวุโส ท่านอย่าได้กลัวเลย ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สำหรับท่านผู้มีความกินแหนงแคลงใจต้องกลัวแน่แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องประกอบชอบ
 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุนั้นว่า อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ?  ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันท่านผู้ประกอบโดยชอบ พึงยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่  พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องปรารภความเพียร
 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุนั้นว่า อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ? ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ท่านผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว พึงยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องประกอบความเพียร
 ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุนั้นว่า อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ? ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ท่านที่มีความเพียรอันประกอบแล้ว พึงยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง
 ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุนั้นว่า ดูกรอาวุโส คุณยังพออดทนต่อทุกขเวทนาได้หรือ ยังพอประทังชีวิตไปได้หรือ? ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันคนพอดีพอร้ายไม่สามารถจะอดกลั้นได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค   พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
 ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พากันถามภิกษุนั้นว่า ดูกรอาวุโส ท่านยังพออดทนต่อทุกขเวทนาได้หรือ ยังพอประทังชีวิตไปได้หรือ? ภิกษุนั้นตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันปุถุชนไม่สามารถจะอดกลั้นได้ แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องพราหมณ์ ๕ เรื่อง
[๒๙๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า นิมนต์ พระอรหันต์ทั้งหลาย จงมาเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียกพวกเราด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายไม่ต้องอาบัติ  เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงนั่งเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียกพวกเราด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส
 ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงบริโภคเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียกพวกเราด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส
 ๔. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงฉันให้อิ่มเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียกพวกเราด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส
 ๕. ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงกลับไปเถิดเจ้าข้า ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราหาได้เป็นพระอรหันต์ไม่ ก็พราหมณ์นี้มาร้องเรียกพวกเราด้วยวาทะว่าอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส.
เรื่องพยากรณ์มรรคผล ๓ เรื่อง
[๒๙๒] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส แม้ผมก็ละอาสวะได้ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
             ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง พูดอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ธรรมเหล่านั้นย่อมมีแม้แก่ผม แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
             ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง พูดอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส แม้ผมก็ปรากฏในธรรมเหล่านี้ แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องครองเรือน
[๒๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกญาติได้กล่าวกะภิกษุรูปหนึ่งว่า นิมนต์ ท่านมาอยู่ครองเรือนเถิด ขอรับ ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ท่านทั้งหลาย คนอย่างฉันไม่ควรแท้ที่จะอยู่ครองเรือน แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องห้ามกาม
 ก็โดยสมัยนั้นแล พวกญาติได้กล่าวกะภิกษุรูปหนึ่งว่า นิมนต์ ท่านมาบริโภคกามเถิดขอรับ ภิกษุรูปนั้นตอบว่า ท่านทั้งหลาย กามทั้งหลาย เราห้ามแล้ว แล้วมีความรังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค  พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องยินดี
 ก็โดยสมัยนั้นแล พวกญาติได้กล่าวกะภิกษุรูปหนึ่งว่าท่านยังยินดียิ่งอยู่หรือ? ภิกษุรูปนั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เรายังยินดียิ่งอยู่ ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง แล้วมีความรังเกียจว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น จึงควรพูดอย่างนั้น ส่วนเราสิ หาได้เป็นสาวกของพระองค์ไม่ เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้มีความประสงค์จะพูดอวด พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องหลีกไป
[๒๙๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งตั้งกติกากันไว้ว่า ภิกษุใดหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน พวกเราจักแก้ไขภิกษุนั้นว่าเป็นพระอรหันต์ภิกษุรูปหนึ่งหลีกไปจากอาวาสนั้นก่อน ด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลายจงเข้าใจเราว่าเป็นพระอรหันต์แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
เรื่องอัฏฐิสังขลิกเปรต
[๒๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ คิชฌกูฏบรรพต ครั้นเวลาเช้า ท่านพระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปหาท่านพระลักขณะจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระลักขณะว่า อาวุโส ลักขณะมาเถิด เราจะเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ด้วยกัน ท่านพระลักขณะรับคำท่านมหาโมคคัลลานะว่า ได้ อาวุโส ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังลงจากคิชฌกูฏบรรพตนั้น ได้แย้มให้ปรากฏ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง จึงท่านพระลักขณะได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า อาวุโส มหาโมคคัลลานะ อะไรหนอ เป็นเหตุ  อะไรหนอ  เป็นปัจจัยให้แย้ม?
             ม. อาวุโส ลักขณะ ยังไม่สมควรที่จะพยากรณ์ปัญหานี้ ท่านจงถามปัญหานี้กะผม ในสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด
             ครั้นท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัตรแล้ว จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วท่านพระลักขณะได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เมื่อกำลังลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้ทำการแย้มให้ปรากฏ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง อาวุโส โมคคัลลานะ อะไรหนอ  เป็นเหตุ อะไรหนอ เป็นปัจจัยให้แย้ม ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตมีแต่ร่างกระดูก ลอยไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่งตามช่องซี่โครง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง อาวุโส ผมนั้นได้คิดเช่นนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ น่าประหลาดจริงหนอ ที่สัตว์แม้เห็นปานนี้ ยักษ์แม้เห็นปานนี้ เปรตแม้เห็นปานนี้ การได้อัตภาพแม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าท่านพระมหาโมคคัลลานะอวดอุตตริมนุสสธรรม
 ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายสาวกทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีจักษุอยู่ ย่อมเป็นผู้มีญาณอยู่ เพราะสาวกได้รู้ได้เห็น หรือได้ทำสัตว์เช่นนี้ให้เป็นพยานแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อกาลก่อนเราก็ได้เห็นสัตว์นั้น แต่เราไม่ได้พยากรณ์ ถ้าเราพยากรณ์สัตว์นั้น และคนอื่นไม่เชื่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เขาเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าโคอยู่ในพระนครราชคฤห์นี่เอง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น แหละที่ยังเป็นส่วนเหลืออยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องมังสเปสิเปรต
 โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นมังสเปสิเปรต มีแต่ชิ้นเนื้อลอยไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุมพากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง  ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้น ร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้น เคยเป็นคนฆ่าโค อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องมังสปิณฑเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่าน พระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นมังสปิณฑเปรตมีแต่ก้อนเนื้อ ลอยไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และ นกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้น เคยเป็นพรานนกอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องนิจฉวิเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นนิจฉวิเปรตชาย ไม่มีผิวหนัง ลอยไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุมพากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง     สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ...  ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ... สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าแกะอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องอสิโลมเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่าอาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอสิโลมเปรตชาย มีขนเป็นดาบ ลอยไปในเวหาส ดาบเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้วตกลงที่กายของมันเอง  เปรต นั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าสุกรอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องสัตติโลมเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ .. ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสัตติโลมเปรตชาย มีขนเป็นหอก ลอยไปในเวหาส หอกเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้วตกลงที่กายของมันเอง เปรต นั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้น เคยเป็นพรานเนื้ออยู่ในพระนครราชคฤห์นี่เอง ...
เรื่องอุสุโลมเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่าน พระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอุสุโลมเปรตชาย มีขนเป็นลูกศรลอยไปในเวหาส ลูกศรนั้นของมัน หลุดลอยขึ้นไปแล้วตกลงที่กายของมันเอง เปรต นั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นเพชฌฆาตอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องสูจิโลมเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่าน พระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสูจิโลมเปรตชาย มีขนเป็นเข็มลอยไปในเวหาส เข็มเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไปแล้ว ตกลงที่กายของมันเอง  เปรต นั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นนายสารถีอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องสูจกเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่าน  พระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสูจกโลมเปรตชาย มีขนเป็นเข็ม ลอยไปในเวหาส เข็มเหล่านั้นของมันทิ่มเข้าไปในศีรษะ แล้วออกทางปาก ทิ่มเข้าไปในปาก แล้วออกทางอก เข็มออกทางอก ทิ่มเข้าไปในอก แล้วออกทางปาก ทิ่มเข้าไปในปาก แล้วออกทางอก ทิ่มเข้าไปในอก แล้วออกทางท้อง ทิ่มเข้าไปในท้อง แล้วออกทางขาทั้งสอง ทิ่มเข้าไปในขาทั้งสอง แล้วออกทาง แข้งทั้งสองทิ่มเข้าไปในแข้งทั้งสอง แล้วออกทางเท้าทั้งสอง เปรต นั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นคนส่อเสียดอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องกุมภัณฑเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์  ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นกุมภัณฑเปรตชาย มีอัณฑะโตเท่าหม้อ ลอยไปในเวหาส เปรตนั้นแม้เมื่อเดินไปย่อมยกอัณฑะเหล่านั้นแหละขึ้นพาดบ่าเดินไป แม้เมื่อนั่งก็ย่อมนั่งบนอัณฑะเหล่านั้นแหละ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง สะบัด ซึ่ง เปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องคูถนิมุคคเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์   ครั้งนั้น          ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นคูถนิมุคคเปรตชาย ผู้จมอยู่ในหลุมคูถท่วมศีรษะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นชู้กับภรรยาของชายอื่น อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องคูถขาทิเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...  ท่านพระมหาโมีคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นคูถขาทิเปรตชาย ผู้จมอยู่ในหลุมคูถท่วมศีรษะ กำลังเอามือทั้งสองกอบคูถกินอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นพราหมณ์ผู้ชั่วช้า อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พราหมณ์นั้นนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ด้วยภัตตาหารแล้ว เทคูถลงในรางจนเต็ม สั่งคนให้ไปบอกภัตตกาล แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงฉันอาหารและนำไปให้พอแก่ความต้องการจากสถานที่นี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้ในนรก หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ซึ่งยังเป็นส่วนเหลืออยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องนิจฉวิตถีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...  ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นนิจฉวิตถีเปรตหญิง ไม่มีผิวหนัง ลอยไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และ นกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง สะบัด ซึ่ง เปรตหญิงนั้นอยู่ไปมา เปรตหญิงนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ... เปรตหญิงนั้นเคยเป็นหญิงประพฤตินอกใจสามีอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...   ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องมังคุลิตถีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นมังคุลิตถีเปรตหญิง มีรูปร่างน่าเกลียด มีกลิ่นเหม็น ลอยไปในเวหาส ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้ง ยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตหญิงนั้นอยู่ไปมา เปรตหญิงนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ...เปรตหญิงนั้นเคยเป็นแม่มดอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง ...
เรื่องโอกิลินีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น  ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นโอกิลินีเปรตหญิง มีร่างกายถูกไฟลวก มีหยาดเหงื่อไหลหยด มีถ่านเพลิงโปรยลง ลอยไปในเวหาส เปรตหญิงนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... เปรตหญิงนั้นเคยเป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางเป็นคนขี้หึง ได้เอากระทะเต็มด้วยถ่านเพลิงคลอกสตรีร่วมพระสวามี ...
เรื่องอสีสกพันธเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นอสีสกพันธเปรตมีศีรษะขาดลอยไปในเวหาส ตาและปากของมันอยู่ที่อก ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตะกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้งยื้อแย่ง สะบัดซึ่งเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... สัตว์นั้นเคยเป็นเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจร ชื่อทามริกะ อยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง 
เรื่องภิกษุเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นภิกษุเปรตลอยไปในเวหาส สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุกโชน            เปรตนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... ภิกษุเปรตนั้นเคยเป็นภิกษุผู้ลามก ในศาสนาของพระกัสสสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรื่องภิกษุณีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นภิกษุณีเปรตลอยไปในเวหาส สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย .ภิกษุณีเปรตนั้นเคยเป็นภิกษุณีผู้ลามกในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า 
เรื่องสิกขมานาเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสิกขมานาเปรต ลอยไปในเวหาส สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สิกขมานาเปรตนั้นเคยเป็นสิกขมานาผู้ลามกในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรื่องสามเณรเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ... ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสามเณรเปรตลอยไปในเวหาส สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ...       ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ... สามเณรเปรตนั้น เคยเป็นสามเณรผู้ลามกในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ...
เรื่องสามเณรีเปรต
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ...  ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส ผมลงจากคิชฌกูฏบรรพต เขตพระนครราชคฤห์นี้ ได้เห็นสามเณรีเปรตลอยไปในเวหาส สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชน เปรตนั้นร้องครวญคราง ... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สามเณรีเปรตนั้นเคยเป็นสามเณรีผู้ลามกในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรื่องแม่น้ำตโปทา
[๒๙๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาแต่ห้วงใด ห้วงนั้นมีน้ำใสเย็น จืดสนิท สะอาดสะอ้าน มีท่าเรียบราบ น่ารื่นรมย์ มีปลาและเต่ามาก อนึ่ง ดอกบัวประมาณเท่ากงเกวียนแย้มบานอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น แม่น้ำตโปทานี้ก็เดือดพล่านไหลไปอยู่ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทนาว่า ไฉนท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาแต่ห้วงใด ห้วงนั้นมีน้ำใส เย็นจืดสนิท สะอาดสะอ้านมีท่าเรียบราบ น่ารื่นรมย์ มีปลาและเต่ามาก อนึ่ง ดอกบัวประมาณเท่ากงเกวียนแย้มบานอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น แม่น้ำตโปทา นี้ก็เดือดพล่านไหลไปอยู่ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาแต่ห้วงใด ห้วงนั้นมีน้ำใส เย็น จืดสนิทสะอาดสะอ้าน มีท่าเรียบราบน่ารื่นรมย์ มีปลาและเต่ามาก อนึ่ง ดอกบัวประมาณเท่ากงเกวียนแย้มบานอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่แม่น้ำตโปทานี้ ไหลผ่านมาในระหว่างมหานรกสองขุม เพราะฉะนั้น แม่น้ำตโปทานี้ จึงเดือดพล่านไหลไปอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริงโมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องรบ ณ พระนครราชคฤห์
[๒๙๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทำสงครามพ่ายแพ้พวกเจ้าลิจฉวี ต่อมาภายหลัง ท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบพวกเจ้าลิจฉวี ได้ชัยชนะ และตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า พระราชาทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะพูดกะภิกษุทั้งหลาย ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระราชาทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้วแต่เขาตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า พระราชาทรงได้ชัยชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทนาว่า ไฉนท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระราชาทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว แต่เขาตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า พระราชาทรงได้ชัยชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งแรกพระราชาทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวี ต่อมาภายหลังท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบพวกเจ้าลิจฉวีได้ชัยชนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ พูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องช้างลงน้ำ
[๒๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเข้าอาเนญชสมาธิใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดังดุจนกกระเรียน ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเข้าอาเนญชสมาธิใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดังดุจนกกระเรียน ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย      สมาธินั้นมีอยู่ แต่ไม่บริสุทธิ์ โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.
เรื่องพระโสภิตะอรหันต์
[๒๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระโสภิตะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกร อาวุโสทั้งหลาย เราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัลป์ ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระโสภิตะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัลป์ ท่านพระโสภิตะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาตินี้ของโสภิตะมีอยู่ แต่มีชาติเดียวเท่านั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสภิตะพูดจริง โสภิตะ ไม่ต้องอาบัติ.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ.